-
อนุบาล 1
- ช่วงอายุ:3-4 ปี
- ขนาดชั้นเรียน:24 คน
- เรียนวัน:จันทร์ - ศุกร์ 08.30 - 14.30 น.
-
-
สมัครเรียนหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม
-
สมรรถนะ
ความสามารถในการเคลื่อนไหวและสุขภาวะทางกาย
- การเคลื่อนไหวและการทรงตัวโดยใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ – สามารถแสดงความแข็งแรงและประสานการทำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น วิ่งได้ตรงไม่โซเซ เดิน และวิ่งตามเส้นเป็นวงกลม เป็นต้น
- การเคลื่อนไหวด้วยกล้ามเนื้อมัดเล็ก – สามารถแสดงความแข็งแรงและประสานการทำงานของกล้ามเนื้อมมัดเล็ก เช่น ใช้มือจับดินสอหรืออุปกรณ์อื่นอย่างถูกวิธีในการขีดเขียน เป็นต้น
- ประสาทสัมผัสกับการเคลื่อนไหว – สามารถใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ เช่น การเห็น ได้ยิน กายสัมผัส เป็นการนำในการเคลื่อนไหว เช่น มุดอุโมงค์ โดยหัวไม่ชน รินน้ำจากขวดใส่ถ้วยโดยไม่หก จัดวางสิ่งของหรือวัสดุซ้อนหรือต่อกันให้เป็นรูปร่างต่างๆ ตามตัวอย่าง เป็นต้น
- โภชนาการ – สามารถรับประทานอาหารหลายๆ ชนิดที่มีประโยชน์และปลอดภัย ครบ 5 หมู่ โดยมีผู้ใหญ่ช่วยเหลือและแนะนำ เป็นต้น
- สมรรถภาพทางกาย – เช่น สามารถทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง 10 – 15 นาที ชวนเพื่อเล่นกิจกรรมที่ต้องมีการเคลื่อนไหว เป็นต้น
- ความปลอดภัย – สามารถแสดงออกว่ามีความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัย เช่น เล่นอย่างปลอดภัยตามคำแนะนำของผู้ใหญ่ รู้ว่าเมื่อต้องการความช่วยเหลือจะติดต่อกับใคร เป็นต้น
- การช่วยเหลือและดูแลตนเอง สามารถช่วยและพึ่งตนเองได้ในกิจวัตรของตน เช่น รู้จักแปรงฟันด้วยตนเองโดยมีผู้ใหญ่ช่วย ทำความสะอาดร่างกายหลังปัสสาวะ และอุจจาระ ด้วยตนเองโดยมีคนช่วย บอกได้ว่าต้องการขับถ่าย เป็นต้น
ด้านสังคม
- การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ – สามารถแสดงทักษะในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ เช่น ทักทาย พูดคุยถามตอบกับผู้ใหญ่โดยมีผู้ใหญ่ช่วย ทำสิ่งต่างๆ เพื่อเอาใจผู้ใหญ่ ช่วยเหลือผู้ใหญ่ทำงานบ้านตามสมควร สนใจฟังผู้อื่นพูดขณะสนทนา รู้จักปรับน้ำเสียงและความดังตามสถานการณ์ต่างๆ โดยมีผู้ใหญ่แนะนำ เป็นต้น
- การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนเด็ก – สามารถแสดงทักษะทางสังคมเชิงบวกกับเพื่อนเด็กด้วยกัน เช่น แสดงความสนใจเด็กคนอื่น พูดคุยและเล่นกับเพื่อนเด็กด้วยกัน ยอมรับกฎ กติกา เวลาเล่นกับเพื่อน เป็นต้น
- พฤติกรรมการปรับตัวทางสังคม – สามารถแสดงความตระหนักรู้ว่าพฤติกรรมมีผลต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อม เช่น แบ่งปันกับเพื่อน และผลัดกันเล่นโดยมีผู้ใหญ่คอยช่วยเหลือแนะนำ เป็นต้น
- เห็นคุณค่าของความแตกต่าง – สามารถตระหนักรู้ เห็นคุณค่า และยอมรับนับถือในความเหมือนและความแตกต่างระหว่างบุคคล เช่น ปฏิบัติตนอย่างสุภาพกับทุกคน เล่นเลียนแบบและแสดงความชื่นชมวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ที่แตกต่างไปจากตน เป็นต้น
ด้านอารมณ์
- ความคิดเกี่ยวกับตนเอง – สามารถรับรู้เกี่ยวกับตนเอง และตระหนักรู้ว่าตนชอบหรือไม่ชอบอะไร เช่น แสดงท่าทาง วาจา บอกความรู้สึกรักและผูกพันกับพ่อแม่ และคนใกล้ชิด เป็นต้น
- การควบคุมอารมณ์ตนเอง สามารถปฏิบัติตนตามกฎระเบียบและกิจวัตร และควบคุมอารมณ์ได้ตามสมควร เช่น ไม่ให้ความสนิทสนมกับคนแปลกหน้า โดยมีผู้ใหญ่บอกหรือให้เหตุผล ไม่แสดงอาการหงุดหงิดจนเกินไปเมื่อต้องทำกิจกรรมที่ยาก โดยมีผู้ใหญ่ช่วย เป็นต้น
- สมรรถนะของตนเอง – สามารถความเชื่อมั่นในความสามารถของตน เช่น แสดงความดีใจโดยท่าทางหรือวาจา เมื่อทำอะไรได้หรือสำเร็จ อวดผลงานของตนเพื่อให้ตนเองรู้สึกดี และรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถ เป็นต้น
ด้านการคิดและสติปัญญา
- ความจำ – สามารถจำเบื้องต้น เช่น ร้องเพลงจนจบได้ ท่องคำคล้องจองหรือคำกลอนสั้นๆ ได้ เป็นต้น
- ความมีเหตุผล – สามารถแสดงความเข้าใจเกี่ยวกับเหตุและผล เช่น บอกเหตุผลที่ต้องล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ (เกี่ยวกับการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน) เป็นต้น
- การคิดอย่างมีวิจารณญาณ – สามารถเปรียบเทียบ แยกแยะความเหมือน ความแตกต่าง และประเมินสถานภาพ เช่น จัดกลุ่มสิ่งของตามประเภทโดยใช้เกณฑ์เดียวในการจัด ตามสี หรือ ตามรูปทรง หรือตามขนาด เป็นต้น
- สามารถแก้ปัญหาได้ – เช่น รู้จักถามเพื่อให้ได้วิธีการแก้ปัญหา แก้ปัญหา ในชีวิตประจำวันได้ โดยการลองผิด ลองถูก (สวมรองเท้า ติดกระดุม) เป็นต้น
- ความตั้งใจจดจ่อ – สามารถจดจ่อกับการทำกิจกรรมด้วยความตั้งใจ เช่น ฟังคนอื่นพูดด้วยข้อความสั้นๆ จนจบแล้วโต้ตอบด้วยวาจาหรือการกระทำจนจบ เป็นต้น
- ความคิดด้านคณิตศาสตร์ – สามารถอ่านตัวเลข นับเลข และรู้จำนวน เช่น พูดคำว่า 1 ถึง 10 เรียงลำดับได้โดยไม่จำเป็นต้องทราบความหมาย เป็นต้น
- เข้าใจปรากฏการณ์ และวิธีการแสวงหาข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ – แสดงพฤติกรรมอยากรู้ อยากลอง โดยการมอง การฟัง การถาม จับต้อง และลงมือทำ เช่น ทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต ดูแลให้อาหารสัตว์ รดน้ำต้นไม้ บอกเรื่องการแต่งตัวหรือการใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมในสภาพอากาศที่แตกต่างกัน การใช้ร่ม การใช้เสื้อกันฝน เสื้อกันหนาว เป็นต้น
- ความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมรอบตัว – แสดงออกถึงความตระหนักรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะของครอบครัว และบทบาทของครอบครัว รวมถึง ชุมชนของตน การพึ่งพา ซึ่งกันและกัน และบทบาททางสังคมของคนต่างๆ เช่น บอกชื่อจริงหรือชื่อเล่นของพ่อแม่ พี่น้อง บอกได้ว่าสมาชิกในครอบครัวใครเป็นผู้ชาย ใครเป็นผู้หญิง บอกชื่อครูได้ บอกหรือเล่นบทบาทสมมติเป็นอาชีพได้ เป็นต้น
- มลภาวะและการรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น ขับถ่ายให้เป็นที่ และใช้ห้องน้ำอย่างถูกวิธี เป็นต้น
- เข้าใจเกี่ยวกับคุณค่าเชิงเศรษฐกิจ เช่น แสดงพฤติกรรมการเก็บออมเพื่ออนาคต รับประทานหมด ไม่หยิบของมามากกว่าที่จำเป็นต้องใช้ เป็นต้น
ด้านการใช้ภาษา
- รับรู้ เข้าใจและใช้คำศัพท์ได้ – เช่น นำคำที่ได้เรียนรู้ใหม่มาใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นต้น
- การเรียงคำให้เป็นประโยค – เช่น พูดเป็นประโยคที่มี 3 – 4 คำโดยมีคำนามและกริยา เป็นต้น
- ความเข้าใจภาษา – สามารถแสดงพฤติกรรม เข้าใจความหมายและจับใจความได้จากการฟังภาษาพูด เช่น ทำตามคำสั่งหรือคำบอกที่มีลักษณะ 2 ขั้นตอนต่อเนื่องได้ เป็นต้น
- การสื่อความหมาย – สามารถรับรู้และใช้ภาษาพูดสื่อความหมายได้ตรงตามความต้องการของตน เช่น บอกความต้องการ ความรู้สึก ความคิดเห็นของตนได้ เป็นต้น
- การสื่อความหมายด้วยท่าทางและสัญลักษณ์ – เช่น ทำตามคำสั่งที่เป็นท่าทางของผู้ใหญ่ได้ หรือ สามารถทำท่าทางต่างๆ เพื่อสื่อความหมายได้ เป็นต้น
- การอ่านและการเขียน – สามารถบ่งชี้และออกเสียงตัวพยัญชนะ สระ และคำง่ายๆ ได้ และสามารถเขียนตัวอักษร และคำง่ายๆ ได้
ด้านจริยธรรม
- การมีวินัยในตนเอง – สามารถแสดงพฤติกรรมควบคุมตนเอง เช่น ให้ความร่วมมือในการทำกิจวัตรเพื่อให้ไปโรงเรียนทัน เชื่อฟังและปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน ทำตามสัญญาหรือข้อตกลงง่ายๆ แสดงความรับผิดชอบโดยทำในสิ่งที่ได้รับมอบหมายให้ทำในระยะสั้นๆ เป็นต้น
- ความรับผิดชอบชั่วดี – สามารถแสดงพฤติกรรมสะท้อนความเข้าใจเกี่ยวกับการกระทำใดถูกหรือผิด เช่น แสดงความอ่อนโยนต่อเพื่อน ไม่เอาของคนอื่นมาเป็นของตน เป็นต้น
ด้านการสร้างสรรค์
- ดนตรีและการเต้นตามดนตรี – เช่น สนใจด้วยการตั้งใจฟังเพลง หรือดนตรี เต้นหรือเคลื่อนไหวร่างกายตามที่กำหนดสอดคล้องกับดนตรี เป็นต้น
- ศิลปะการละคร – เช่น แสดงท่าทางหรือบทบาทสมมติต่างๆ ตามจินตนการได้ สามารถทำเสียงหรือท่าทางเลียนแบบตัวละครเมื่อเล่านิทานหรือเล่าเรื่อง เป็นต้น
- ทัศนศิลป์ – แสดงพฤติกรรมการวาด การปั้น และการประดิษฐ์
-
- การเคลื่อนไหวและสุขภาวะทางกาย100%
- ด้านสังคม100%
- ด้านอารมณ์100%
- ด้านการคิดและสติปัญญา100%
- ด้านการใช้ภาษา100%
- ด้านจริยธรรม100%
- ด้านการสร้างสรรค์100%
-
ครูประจำชั้น
ด้วยการศึกษาและประสบการณ์การดูแลเด็กปฐมวัย